วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไอศครีมทอด



วิธีทำไอศครีมทอด

ส่วนประกอบ
1. ไอศครีมรสที่ชอบ (จะให้อร่อยต้องเป็นไอศครีมที่มีรสหวานและมัน ไม่แนะนำเชอร์เบท หรือ หวานเย็น)
2. ขนมปังแซนวิชใหม่ๆ 1 นาที ต่อ 2 แผ่น
3. ผงขนมปังป่น
4. ไข่ไก่ 2 ฟอง
5. น้ำมันพืชสำหรับทอด
6. เคล็ดลับ กระทะที่ใช้ทอดไอศครีมควรเป็นกระทะก้นมน และไอศครีมควรแช่ในช่องแข็งให้เย็นจัด แต่ต้องไม่แข็งเกินไปจนตักไม่ได้

วิธีทำ
1. เริ่มจากการทำขนมปังป่นก่อน ง่ายๆ ค่ะ นำขนมปังแซนด์วิชมาตากแดดจนแห้งกรอบ หรือจะใช้อบในเตาด้วยไฟอ่อนจนกรอบ จากนั้นนำไปป่นให้ละเอียด 
2. คราวนี้ก็ถึงขั้นตอนการทำแล้วค่ะ เริ่มจากเตรียมขนมปังป่นใส่ถ้วย นำขนมปังแซนด์วิช
มาตัดขอบสีน้ำตาลออก ตีไข่ไก่ในถ้วยใบให้พอเข้ากัน
3. ตั้งกระทะบนเตาด้วยไฟกลาง ตั้งน้ำมันให้ร้อน นำไอศครีมออกจากช่องแช่แข็ง ตักไอศครีม 1 ก้อนวางลงบนขนมปัง ทาไข่รอบๆ
4.เอาขนมปังแผ่นหนึ่งประกบ แล้วปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ชุบลงในไข่ แล้วคลุกกับขนมปังป่น ใช้อุ้งมือบีบให้เป็นก้อน แล้วชุบไข่ และคลุกกับขนมปังป่นครั้ง
5. นำลงทอดทันที พอผิวขนมปังเป็นสีเหลืองอ่อนๆ ให้ใช้กระชอนตักขึ้นทันที (ไม่ควรทอดเกิน 30 วินาที)
6. วางลงบนกระดาษซับมัน ตักใช่จานหรือถ้วยเสิร์ฟ แต่งหน้าด้วยฮอทฟัดจ์ หรือวิปปิ้งครีม จะใส่ผลไม้สดแบบเชอรี่ หรือสตอเบอรี่ก็ได้

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไอศครีมต่างแดน


ไอศครีมไวอากร้า : เวเนซุเอลา


         ร้านไอศครีม Heladeria Coromoto ใน Merida ร้านที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงนักในยุคแรกๆ ใช้เวลาหลายปีเพื่อให้ได้บันทึกลงในกินเนสบุ๊คว่าเป็นร้านที่มีรสไอศครีมมากที่สุด ทั้งหมด 900 รส ที่นับได้ในปัจจุบัน (แม้ว่าจะมีให้เลือกแค่ 70 – 80 รส ในแต่ละวัน) ไวอากร้าก็เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีรสโค้ก ไดเอตโค้ก พริกไทย และแม้แต่ทูน่า
        รสชาติ ยากที่จะบอกรสชาติ ภายใต้สีฟ้าสดทำให้ระลึกถึงเม็ดยา ส่วนประกอบเฉพาะที่เป็นความลับ แต่มีรายงานว่ามาจากพืชธรรมชาติซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ


ไอศครีม Haggis : ลอนดอน



          Haggis อาหารของชาวสก๊อตทำจากเครื่องในแกะ และในแบบดั้งเดิมจะทำให้เป็นเหมือนไส้กรอกในท้อง ท้าทายอาหารจานอื่นๆ แม้เป็นอาหารแบบดั้งเดิมด้วยกัน แต่ที่ Morelli’s ซึ่งเป็นร้านในแฮรรอดส์ ได้ใส่เนื้อเยื่อของแกะลงไปในไอศครีม นอกจากนี้ที่นี่ยังมีไอศครีมอย่างอื่นด้วยทั้ง พุดดิ้ง Yorkshire หรือไส้กรอก
           รสชาติ โฆษกหญิงของแฮรรอดส์นั้นกล่าวว่า ไอศครีม Haggsis มีรสค่อนข้างเข้มข้น


ไอศครีมลาเวนเดอร์ : ฝรั่งเศส



         ไอศครีมโคนที่นี่ต้องไม่ธรรมดา จะตามหารสชาติและกลิ่นของที่นี่ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีมากมาย ทั้ง ลาเวนเดอร์ กุหลาบ มะลิ ไวโอเล็ต และป๊อบปี้ส์ ที่ Fenocchio ร้านไอศกรีม ที่ Place Rossetti ใน Vieux Nice คุณสามารถหารสดอกไม้อย่าง black olive โรสแมรี่ ไธม (thyme) และ tomato basil
          รสชาติ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบจะพบว่าลาเวนเดอร์และกุหลาบเป็นรสที่นุ่มนวล แต่ Peter Lind กูรูด้านรสของ Ben & Jerry พบว่าเมื่อบริษัทได้ทดสอบไอศกรีมกุหลาบที่ Vermont ชาวอเมริกันกลับไม่ประทับใจ มีชายคนหนึ่งกล่าวว่า กลิ่นมันเหมือนรักแร้ของยายเลย

ไอศครีมชะเอมเทศเค็ม : สวีเดน


         อ่านฉลากให้ดีๆ ก่อนที่คุณจะสั่งไอศกรีมในสตอกโฮล์ม Lakrits (Licorrice) อาจดูเหมือนดาร์คช็อคโกแลตหรือไอศครีมช็อคโกแลตชิพ แต่เต็มไปด้วยรส salmiakki หรือ ชะเอมเทศเค็ม ที่ร้านไอศกรีม Glasshus ในสตอกโฮล์ม lakrits จะมีสีดำเหมือนถ่าน
         รสชาติ แม้ผู้ที่ชื่นชอบ licorice จะตามหาชิมรสที่เข้มข้น Salmiakki ที่ประกอบด้วยแอมโมเนียมคลอไรด์ และกลิ่นฉุนของเกลือ
ไอศครีมทุเรียน : ฟิลิบปินส์  


          ผลิตภัณฑ์จากทุเรียนจะมีกลุ่มคนที่ชอบ (จำนวนมากในเอเชีย) หรือ เกลียดกลิ่นฉุนๆ ไปเลย ดังนั้นจึงไม่ประหลาดที่คนฟิลิบปินส์จะชอบไอศครีมทุเรียน ซึ่งบริษัทเนสเล่ในฟิลิบปินส์ทำออกมา
          รสชาติ ถ้าคุณอยากลองชิมทุเรียน นี่น่าจะดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้น ผู้ที่ชื่นชอบกล่าวว่ามันหวานแต่นุ่มนวลแบบทุเรียน แต่ก็ยังต้องใช้มิ้นท์เพื่อลมหายใจสดชื่นหลังทาน

ไอศครีมเนื้อม้าดิบ : ญี่ปุ่น


          คนญี่ปุ่นชอบพจญภัยมากในเรื่องอาหาร ศูนย์การค้า Sunshine City ที่ Ikebukuro ของเมืองโตเกียว คุณจะพบกับเมืองไอศกรีม ซึ่งคุณจะได้ลองไอศครีมรสแปลกๆ (หรือน่ากลัว) เช่น ปลาหมึก และ งู ไปจนถึง “basashi vanilla” ซึ่งประกอบด้วยซูชิเนื้อม้า ฟังดูน่ากลัวใช่ไหม บางทีคุณอาจอยากลอง gyu tan หรือ ซอร์เบทลิ้นวัว ที่นั่นไม่ได้มีแค่ไอศครีมท้องถิ่นเท่านั้นแต่ยังมีไอศครีมจากต่างประเทศด้วย Baskin-Robbins รายงานว่ารสที่นิยมที่สุดในสาขาที่ญี่ปุ่นคือสตรอเบอรี่ชีสเค้ก
           รสชาติ เหมือนวานิลาและบางอย่างที่เหนียวมากๆ หวานเล็กน้อยแต่หวานแบบเนื้อกวาง

ไอศครีมเบคอน : เดลาแวร์ สหรัฐอเมริกา



         ใครที่เคยนำเฟรนช์ฟรายจิ้มลงในช็อคโกแลตปั่นจะเข้าใจถึงรสหวานๆ เค็มๆ แบบนี้ ร้านไอศครีมตามทางใน Rehoboth จากครั้งแรกที่ลองทำไอศกรีมเนื้อเล่นๆ ออกมาเป็น ไอศครีมซันเดย์จากหมูเค็ม และพัฒนามาเป็นไอศครีมเบคอนและแม้แต่เบคอนเคลือบช็อคโกแลต โดยเฉพาะเบคอนปั่นที่เป็นที่นิยม
          รสชาติ – รสวานิลาที่เข้มข้นจริงๆ ถึงจะดึงรสชาติของเบคอนออกมา

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ไอศครีมเพื่อสุขภาพ เมนูอาหารง่ายๆ


Raspberry Sorbet ราสเบอร์รี่ เชอร์เบท

                 Raspberry Sorbet ราสเบอร์รี่ เชอร์เบท ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าไปอยู่บ้านแล้วก็ทานไอศครีมที่เราทำเอง ไอศครีมแสนอร่อยที่ทานได้ทั้งครอบครัวไอศครีมชนิดที่มีส่วนผสมมาจากผลไม้ หรือไวน์กับน้ำเชื่อม เนื้อของ sorbet ถ้าจะให้นุ่มต้องแช่ให้แข็งและทำให้แตกจากกันให้เป็นเนื้อที่นุ่มด้วยการใช้เครื่องทำไอศครีม  หรือการขูดด้วยส้อม

เครื่องมือ
1. หม้อ
2. ทัพพีไม้
3. มีด
4. เขียง
5. ตะแกรงกรอง
6. ภาชนะใส่ไอศกรีมเข้าตู้เย็น
7. ที่ตักไอศครีม
ส่วนผสม Sorbet
1. น้ำตาล 90 กรัม
2. น้ำ 220 กรัม
3. น้ำมะนาว 15 กรัม 
4. ราสเบอรี่แช่แข็ง 300 กรัม
5. Strawberry สด (สำหรับแต่ง)
ส่วนผสม Raspberry Coulis
1. ราสพ์เบอร์รี่สด 200 กรัม หรือ ราสพ์เบอร์รี่แช่แข็ง 150 กรัม
2. น้ำ 15 กรัม
3. น้ำตาล 10 กรัม
วิธีทำราสเบอร์รี่ เชอร์เบท
Sorbet
1. เทน้ำ + น้ำตาล + ราสพ์เบอร์รี่แช่แข็งลงในหม้อ
2. ตั้งไฟจนเดือด คนด้วยทัพพีไม้
3. นำมากรองบนตะแกรง
4. เทน้ำมะนาวที่เตรียมไว้ผสมลงในน้ำราสพ์เบอร์รี่
5. เพิ่มกลิ่นด้วยผิวเลม่อน (ถ้ามี)
6. เทใส่ภาชนะที่มีฝาปิด วางทิ้งไว้จนเย็น แล้วค่อยปิดฝา นำแช่ในช่องแช่แข็ง
Raspberry Coulis (dessert sauce) 
1. เทน้ำ น้ำตาล ราสพ์เบอร์รี่แช่แข็งลงในหม้อ
2. คนด้วยทัพพีไม้จนเดือด
3. นำกรองแยกน้ำ นำน้ำราสพ์เบอรี่ที่ได้มาเคี่ยวตั้งไฟอีกรอบ ใช้ไฟอ่อน คนเรื่อยๆจนเริ่มเหนียว
4. เทใส่ชามพักไว้จนเย็น แล้วนำเข้าตู้เย็น
วิธีการตัก Sorbet เสริฟ
1. ตัก Sauce ราดบน Sorbet ที่แข็งดีแล้ว ( 1 ชต. Sauce ต่อ 1 ก้อน Sorbet)
2. ใช้ที่ตักไอศกรีมตักขูด Sorbet จนเป็นก้อนไอศกรีม
3. จัดเสริฟตามใจชอบ



วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อันตรายที่แฝงอยู่ในไอศครีม

อันตรายที่แฝงอยู่ในไอศครีม


1. ไดอิธิลกลูคอล( Diethyl Glucol) สารเคมีราคาถูกที่ใช้ในการตีไขมันให้กระจายแทนการใช้ไข่ สารชนิดนี้เป็นสารกันเยือกแข็งที่ใช้กันน้ำแข็งไม่ให้ละลายเร็ว และใช้ในน้ำยากัดสีด้วย
2. อัลดีไฮด์ – ซี71(Aldehyde-C71) เป็นสารที่ใช้ในการสร้างกลิ่นที่ไม่ค่อยมีในประเทศไทย เช่น เชอร์รี่ และเพื่อให้ไอศครีมเป็นของเหลวติดไฟง่าย และยังนำไปใช้ทำสีอะนิลีน จำพวกพลาสติกและยาง
3. ไปเปอร์โอรัล( Piperoral) ใช้แทนกลิ่นวานิลลา เป็นสารเคมีเดียวกับที่ใช้ผสมในยาฆ่าเหาและหมัด
 4. อิธิลอะซีเตท (Ethyl acetate) ใช้สร้างกลิ่นรสสับปะรด อีกทั้งยังใช้เป็นตัวทำความสะอาดหนังและผ้าทอ กลิ่นของสารเคมีตัวนี้ก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง ตับ และหัวใจที่ผิดปกติ
5. บิวธีรัลดีไฮด์(Butyraldehyde) ใช้สร้างกลิ่น รส เมล็ดในผลไม้เปลือกแข็งเช่น ถั่วต่างๆ สารนี้เป็นสารที่ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในกาวยาง
6. แอนนิล อะซีเตท(Anyle acetate) สารนี้จะให้กลิ่นกล้วยหอม และเป็นสารที่ใช้ทำลายล้างไขมัน
7. เบนซิล อะซีเตท(Benzyle acetate) เป็นสารที่ใช้สร้างกลิ่นและรสสตอเบอรี่เป็นสารละลายไนเตรท ทำให้เกิดความอยากอาหาร
สารเคมีที่กล่าวมาทั้งหมด เช่น สารกันเยือกแข็ง ตัวทำละลายน้ำมัน น้ำยาลอกสี ยาฆ่าเหาและฆ่าหมัดนั้น ไม่ใช่ว่าในไอศครีมทุกยี่ห้อจะมีสารเหล่านี้ทั้งหมด บางยี่ห้ออาจจะผสมสารตัวนี้หรือตัวอื่น
นอกจากสารที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีการใช้สารให้ความหวาน คือ แซคคารินหรือน้ำตาลเทียม ที่ใช้เติมเพื่อให้มีสีและกลิ่นที่หอมหวาน ซึ่งสารแซคคารินนั้นได้มีการพิสูจน์แล้วว่ามีส่วนทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน
ไอศครีมนั้นเป็นอาหารที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายพอสมควร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ผลิตบางราย และความพอดีในการบริโภคของตัวผู้บริโภคเอง ที่ต้องดูแลเรื่องการบริโภคให้ได้ส่วนที่พอดีกับความต้องการของร่างกายตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเภทของไอศครีม

วันนี้เราจะมาแนะนำประเภทของไอศครีมกันน่ะค่ะ
1. ไอศกรีมแต่งรส (Plain Ice Cream) คือ ไอศกรีมที่เติมสีและกลิ่นในปริมาณน้อยกว่า 5% เช่น ไอศกรีมวานิลลา ไอศกรีมชาเขียว
2. ไอศกรีมช็อคโกแล็ต (Chocolate Ice Cream)  คือ ไอศกรีมที่ผสมผงโกโก้ หรือ ช็อกโกแล็ต อาจเจือสี แต่งกลิ่น
3. ไอศกรีมผลไม้ (Fruit Ice Cream) คือ ไอศกรีมที่ผสมผลไม้ต่างๆ เช่น ไอศกรีมสตรอเบอรี่ ไอศกรีมมะม่วง ไอศกรีมทุเรียน
4. ไอศกรีมหวานเย็น (Water Ice)  คือ ไอศกรีมที่ทำจาก น้ำตาล อาจมี สารทำให้คงตัว และแต่งสี กลิ่น รสชาติ เช่น ไอศกรีมหวานเย็นกลิ่นโคล่า ไอศกรีมหวานเย็นกลิ่นสละ ไอศกรีมหวานเย็นกลิ่นแตงโม
5. เชอร์เบท (Sherbet)  คือ ไอศกรีมที่ทำจาก น้ำตาล กรดหรือน้ำผลไม้ สารทำให้คงตัว ไขมัน 1-2 % แต่งสีและกลิ่น มีรสเปรี้ยวหวาน เนื้อเหนียว เนียน สีสวย เช่น ไอศกรีมเชอร์เบทส้ม ไอศกรีมเชอร์เบทมะนาว ไอศกรีมเชอร์เบทฝรั่ง ไอศกรีมเชอร์เบทองุ่น
6. ซอร์เบท (Sorbet)  คือ ไอศกรีมที่ทำจากน้ำ น้ำตาล กรดหรือน้ำผลไม้ ไม่มีไขมัน แต่งสีและกลิ่น มีน้ำตาลมากกว่าเชอร์เบท เนื้อเป็นเกล็ดและนุ่ม เช่น ไอศกรีมซอร์เบทลิ้นจี่ ไอศกรีมซอร์เบทสตรอเบอรี่ ไอศกรีมซอร์เบทส้ม
7. ไอศกรีมโยเกิร์ต (Yoghurt Ice Cream) คือ ไอศกรีมผสมโยเกิร์ต อาจผสมผลไม้หรือน้ำผลไม้ และอาจแต่งสี กลิ่น แต่งรสเปรี้ยวด้วยกรดแลคติก มีรสหวาน เปรี้ยวเล็กน้อย มีรสชาติผลไม้เป็นหลัก
8. ไอศกรีมผสมลูกนัท (Nut Ice Cream) คือ ไอศกรีมแต่งรสที่ผสมลูกนัทบด เช่น  ไอศกรีมถั่วลิสง ไอศกรีมพิสตาชิโอนัท ไอศกรีมบราซิลนัท
9. ไอศครีมซอฟเสิร์ฟ (Soft Serve Ice Cream) คือ ส่วนผสมไอศกรีมที่ผ่านกระบวนขั้นต้น คือ ผสม พาสเจอร์ไรส์ โฮโมจิไนซ์ ทำให้เย็นที่ 4 องศาเซลเซียส และบ่มมาแล้ว นิยมนำมาผ่านเครื่องปั่นไอศกรีมแล้วจำหน่ายโดยตรงโดยไม่ต้องแช่แข็ง
10. ไอศกรีมสายรุ้ง (Rainbow Ice Cream) คือ ไอศกรีมที่มีการเติมสีตั้งแต่ 6 สีขึ้นไปเหมือนสายรุ้ง เวลาจำหน่าย มักจะไขไอศกรีมออกจากเครื่องปั่นแล้วจำหน่ายโดยตรงเหมือนไอศกรีมซอฟเสิร์ฟ

11. ไอศกรีมนม (Ice Milk) คือ ผลิตภัณฑ์นม ลักษณะคล้ายไอศกรีม ไขมันต่ำ 2-5% SNF 10-13% น้ำตาล 14-18% สารทำให้คงตัว 0.4% อาจแต่งสี กลิ่น หวานน้อย มักจะขายในรูปของไอศกรีมโลว์แฟต

12. ซันเดย์ (Sundae) คือ ไอศกรีมที่ราดหน้าด้วยซอสหรือน้ำเชื่อม อาจโรยด้วยลูกนัทบด วิปครีม หรืออื่นๆ


ประวัติไอศครีม


ประวัติไอศครีม
               ”ไอศกรีม” หรือ “ไอติม” ที่คนไทยเรียกกันนั้น เป็นของหวาน และเย็น ที่ชื่นชอบกันทุกเพศทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา ที่สำคัญสามารถ ปรับประยุกต์ ให้เข้ากับความนิยมของแต่ละชาติได้อย่างน่าอัศจรรย์ จนอาจจะกล่าว ได้ว่า ไอศกรีมเป็นอาหารของคนทั้งโลกการได้กินไอศกรีมถือเป็นความสุขอย่างหนึ่ง
               ”ไอศกรีม” ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ Ice Cream จนคนทั่วไปคิดว่า มีถิ่นกำเนิดมาจากตะวันตก แต่จริง ๆ แล้วกำเนิดในประเทศจีนนี่เอง เกิดจากการนำหิมะบนยอดเขามาผสมกับนํ้าผลไม้ และกินในขณะที่หิมะยังไม่ทันละลายดี จนปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โคโปโล เดินทางไปจีน และชื่นชอบ จึงนำสูตรกลับไปอิตาลี ขณะเดินทางมีการเติมนมลงไป กลายเป็นสูตรของเขาโดยเฉพาะ และแพร่หลายไปในอิตาลี ฝรั่งเศสและข้ามไปอังกฤษ คนอิตาลีถือว่าตนเองเป็นต้นตำรับไอศกรีมแบบที่นำมาปั่นให้เย็นจนแข็ง เรียกว่าเจลาติน (Gelatin) แล้วแพร่หลายไปในฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 16 ข้ามไปอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนอเมริกันมาก ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ลงทุนถึง 200 ดอลลาร์ซื้อเครื่องปั่นไอศกรีม ไปทำกินเองในหน้าร้อน
               ในเมืองไทยไอศกรีมเข้ามาช่วงไหนไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าคงมาหลังสมัย ร.5 ซึ่งมีการผลิตนํ้าแข็งกินเอง ไอศกรีมตอนนั้น ทำจากนํ้าหวานหรือนํ้าผลไม้นำไปปั่นเย็นจนแข็ง ไม่มีนมหรือครีมผสมด้วย เรียกว่า “ไอติม” ใช้แรงคนในการปั่น โดยมีหม้อทองเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 50-60 ซม.สูง 30 ซม.ภายในมีรูคล้ายลังถึงสำหรับเสียบกระบอกโลหะ ทรงกลมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ภายในบรรจุนํ้าผลไม้หรือนํ้าหวาน กระบอกนี้คือแม่พิมพ์ที่ทำให้ไอติมเป็นแท่ง
การปั่นต้องใช้มือจับหูหม้อทองเหลืองทั้ง 2 ข้าง และแกว่งหรือหมุนไปมาในถังไม้ที่ใส่นํ้าแข็งผสมเกลือ หลังจากปั่นได้ 1/2 – 1 ชม.ไอของความเย็นจะเริ่มเกาะรอบนอกของกระบอก นํ้าหวานข้างในจะเริ่มแข็งตัว ช่วงนี้เองที่ต้องเสียบไม้เข้าไป ตรงกลางเพื่อ เอาไว้จับกิน หมุนต่อไปอีกจนไอติมแข็งตัว จึงเอากระบอกโลหะไปจุ่มในนํ้าอุ่นเพื่อ ให้ดึงไอติมออกจากกระบอกง่ายขึ้น นำไปใส่กระติกเร่ขาย ปัจจุบันมีพ่อค้าฟื้นการทำไอติมแบบนี้ออกขายด้วย
              ต่อมาบริษัทป๊อบผู้ผลิตไอศกรีมตราเป็ด ซึ่งเป็นผู้ผลิตไอศกรีมรายแรกของเมืองไทย ได้สั่งซื้อเครื่องทำไอศกรีมจากต่างประเทศ มาผลิตไอศกรีมได้ครั้งละมาก ๆ เน้นความสะอาดและคุณภาพ ทำให้ไอศกรีมเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ไอศกรีมตราเป็ดยุคแรก ๆ ยังเป็นไอติมหวานเย็น ต่อมาจึงมีการดัดแปลงรสชาติใหม่ ๆ เป็น เป็นรสระกำ เฉาก๊วย ลอดช่อง โอเลี้ยง ข้าวเหนียวแดง ถั่วดำ ฯลฯ พร้อมกับนำสูตรใส่นมจากต่างประเทศใส่ถ้วย ทำให้เนื้อไอศกรีมละเอียดและเนียนคนจึงนิยมกินไอศกรีมใส่นมหรือครีมกันมาก
              อย่างไรก็ตามคนไทยสามารถดัดแปลงไอศกรีมจนเป็นเอกลักษณ์ของไทยคือ ไอติมกะทิ โดยใช้กะทิสดผสมนํ้าตาล ใส่แทนนมและครีม ที่อาจจะเป็นไปได้มากว่าไอศกรีมกะทิมีต้นกำเนิดจากเมืองไทยเป็นแห่งแรก และไม่ต้องใช้กระบอกทำเป็นแท่ง แต่ใช้ตักใส่ถ้วยเป็นลูก ๆ ซึ่งมีคำเรียกขานใหม่ว่า “ไอติมตัก” ต่อมาจึงมีการตักใส่ถ้วยกรอบ และขนมปังผ่ากลาง จุดเด่นของไอศกรีมกะทิคือดัดแปลงให้มีรสชาติต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น เติมลอดช่อง เม็ดแมงลัก ข้าวโพด ขนุน ทุเรียน และเผือก เป็นต้น
             “ไอติมตัก” เจ้าอร่อยสมัยก่อนอยู่แถวคลองหลอด และเยาวราช โดยเฉพาะ ที่เยาวราช เป็นรถเข็นอยู่ในซอยข้างธนาคารไทยพาณิชย์ คนขายเป็นอาแป๊ะ อัธยาศัยไมตรีดีมาก ตั้งเก้าอี้ให้คนกินรอบ ๆ รถ มีคนรอต่อคิวกินกันบ้านหลาม คนหนึ่งลุกอีกคนนั่งต่อทันทีราวกับเก้าอี้ดนตรี ท่านที่อยากลิ้มลองไอติมเจ้าเก่า ขายมากกว่า 40 – 50 ปี ตอนนี้มีอยู่ร้านหนึ่งใกล้ ๆ กับภัตตาคารแกแล็กซี่ ถ.พระราม 4 ร้านนี้เป็นร้านขวัญใจ คนเดิมของคอไอติม ย่านศรีนคร แม้จะย้ายมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบันก็ยังรักษาเอกลักษณ์ และความอร่อยอยู่